ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ‘อินฟลูเอนเซอร์’ ถือเป็นผู้ทรงอิทธิพล อันดับต้น ๆ ที่ส่งผลในการ ตัดสินใจ ซื้อสินค้า และ บริการ ของผู้บริโภคบนช่องทางออนไลน์ในยุคนี้ อย่างมากเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นแบรนด์เล็ก ไปจนถึงแบรนด์ใหญ่ ๆ ต่างก็พากันใช้ อินฟลูเอนเซอร์ในการช่วยโปรโมต และบอกต่อสินค้าให้กับแบรนด์
อินฟลูเอนเซอร์ คืออะไร ?
ก่อนไปทำความรู้จักกับอินฟลูเอนเซอร์แต่ละประเภท เราคงต้องอธิบายถึงคำนิยามของ “อินฟลูเอนเซอร” เพื่อให้ผู้อ่านมีความเข้าใจตรงกับเนื้อหาที่เราจะกล่าวถึงในบทความนี้เสียก่อน
อินฟลูเอนเซอร์ (Influencer) คือ ผู้ที่มีอิทธิพลต่อคนจำนวนมากบนโลกโซเชียล การกระทำของอินฟลูเอนเซอร์นั้น ไม่ว่าจะเป็นการรีวิวสินค้าที่ตนใช้ รวมถึงการแชร์ไลฟ์สไตล์เสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย กิจกรรมยามว่างลงสื่อโซเชียลมีเดียต่าง ๆ ก็อาจจะมีส่วนในการตัดสินใจซื้อสินค้า หรือบริการแก่ผู้ติดตามของเขาได้นั่นเอง
ทำความรู้จักกับอินฟลูเอนเซอร์ทั้ง 5 ประเภท
จากอิทธิพลของอินฟลูเอนเซอร์ที่เราได้กล่าวไปข้างต้น จึงไม่น่าแปลกใจนักที่หลาย ๆ แบรนด์ต่างหันมาใช้กลยุทธ์ทางการตลาดอย่างการใช้อินฟลูเอนเซอร์ ในการช่วยบอกต่อสินค้า หรือบริการ (Influencer Marketing) ได้อ่านมาถึงตรงนี้หลายท่านคงรู้สึกมีความต้องการใช้บริการของเหล่าผู้ทรงอิทธิพลบนโลกอินเทอร์เน็ต ไม่มากก็น้อยกันแล้วใช่ไหมคะ ?
ช้าก่อน ! ก่อนที่ทุกท่านจะรีบละสายตาจากบทความนี้ เพื่อไปใช้บริการจากเหล่าอินฟลูเอนเซอร์ SPARK Factor ขอพาทุกคนไปทำความรู้จักกับ อินฟลูเอนเซอร์ 5 ประเภท ที่นักการตลาดควรรู้จัก ก่อนเลือกนำมาใช้ให้ตอบโจทย์กับแคมเปญ ในบทความนี้เราจะแบ่งประเภทตามจำนวนผู้ติดตาม เพื่อให้แบรนด์ของเราได้ใช้ประสิทธิภาพสูงสุดของเหล่าอินฟลูอินเซอร์มาฝากกันค่ะ

1. All-Star Influencers
จำนวนผู้ติดตาม 2,000,000 คนขึ้นไป
อินฟลูเอนเซอร์ประเภท All-Star หรือกลุ่มดาวเด่น จะเป็นคนดังเป็นที่รู้จักในวงกว้าง หรือหากกล่าวให้เห็นภาพอาจเปรียบได้กับเซเลบริตี้ ดาราอันดับต้น ๆ ศิลปินชื่อดัง ฯลฯ โพสต์ของคนกลุ่มนี้จะมีคนมามีส่วนร่วม (Engagement) ในการโต้ตอบอย่างเช่นการ คอมเมนต์ แชร์ อยู่เสมอ การติดต่ออินฟลูเอนเซอร์กลุ่มนี้มักจะต้องติดต่อผ่านตัวกลาง เช่น ผู้จัดการส่วนตัว เอเจนซี่ เป็นต้น
ลักษณะของ All-Star Influencers
- มีผู้ติดตามจำนวนมหาศาล หลากหลายเพศ หลากหลายวัย อาจทำให้ยากต่อการระบุกลุ่มผู้ติดตามที่แน่ชัด
- โพสต์ของคนดังกลุ่มนี้จะเป็นกระแสต่อคนจำนวนมากในทันที
- ราคาสูงมาก
เมื่อไหร่ที่แบรนด์ควรใช้ All-Star Influencers
- เมื่อแบรนด์มีงบประมาณทางการตลาดที่มหาศาล เพื่อเข้าถึงกลุ่มคนจำนวนมากในระยะเวลาอันสั้น
- เมื่อต้องการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับแบรนด์
- เมื่อต้องการคนที่มีชื่อเสียงในการกระตุ้นแคมเปญ
- และที่สำคัญคือต้องไม่ซีเรียสหากคุณจะใช้อินฟลูเอนเซอร์คนเดียวกันกับแบรนด์อื่น ๆ

2. Mega Influencers
จำนวนผู้ติดตาม 500,000 – 2,000,000 คน
ถือเป็นกลุ่มคนที่มีอิทธิพลเป็นที่รู้จักรองลงมาโดยอินฟลูเอนเซอร์กลุ่มนี้จะอยู่ในทุกแฟลตฟอร์มของสื่อโซเชียลมีเดีย เช่น YouTuber, Streamer ชื่อดัง
ลักษณะของ Mega Influencers
- มีผู้ติดตามจำนวนมาก แต่ผู้ติดตามเหล่านี้จะเปลี่ยนแปลงขึ้นลงได้ตลอดเวลา
- ค่าจ้างจะขึ้นอยู่กับจำนวนของผู้ติดตาม (ยิ่งมีผู้ติดตามมากราคายิ่งสูงขึ้น)
- คนกลุ่มนี้มักจะมีการ เข้าไปมีส่วนร่วม (Collab) กับหลากหลายแบรนด์
เมื่อไหร่ที่แบรนด์ควรใช้ Mega Influencers
- เมื่อแบรนด์ต้องการลงทุนกับแคมเปญเพื่อสร้างการรับรู้ (Awareness) ต่อคนจำนวนมาก
- เมื่อแบรนด์มีงบประมาณทางการตลาดจำนวนมหาศาล
- เมื่อแบรนด์ต้องการเข้าถึงกลุ่มคนที่แตกต่างกันในการทำการตลาดครั้งเดียว

3.Macro Influencers
จำนวนผู้ติดตาม 100,000 – 500,000 คน
ผู้มีอิทธิพลในระดับกลางที่เป็นดาวเด่นในช่องทางออนไลน์ เช่น บล็อกเกอร์ วิดีโอบล็อกเกอร์ หรือการทำพอดคาสต์ โดยผู้ติดตามจะมีลักษณะการติดตามมา อย่างยาวนาน แน่นแฟ้น และมักจะเข้ามามีส่วนร่วมกับอินฟลูเอนเซอร์เป็นประจำผ่านช่องทาง YouTube, Tiktok หรือ Facebook เป็นต้น
ลักษณะของ Macro Influencers
- มีการแบ่งกลุ่มผู้ติดตามที่ชัดเจนขึ้นมา ทำให้แบรนด์สามารถกำหนดกลุ่มคนที่จะเข้ามามีส่วนร่วมได้ง่ายขึ้น
- ผู้ติดตามของคนกลุ่มนี้จะมีความภักดี (Royal Followers) โดยมักจะมามีส่วนร่วมในโพสต์อยู่เสมอ
- ราคาค่าจ้างสูง
เมื่อไหร่ที่แบรนด์ควรใช้ Macro Influencers
- เมื่อแบรนด์ต้องการสร้างการรับรู้ (Awareness) ถึงกลุ่มคนจำนวนมาก
- เมื่อแบรนด์ต้องการเพิ่มการเข้าถึง (Reach) และเพิ่มอัตราการมีส่วนร่วม (Engagement) บนช่องทางหลักของแบรนด์เอง

4. Micro-Influencer
จำนวนผู้ติดตาม 10,000 – 100,000 คน
กลุ่มผู้มีอิทธิพลขนาดเล็ก จะเป็นคนที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน (Niche) เช่น ผู้เชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยว กูรูด้านไอที, ผู้เชี่ยวชาญด้านการเงิน ฯลฯ
ลักษณะของ Micro-Influencers
- เป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
- แบ่งกลุ่มผู้ติดตามที่ชัดเจน
- มีอัตราการมีส่วนร่วมสูง จากคนที่สนใจในเรื่องนั้น ๆ โดยเฉพาะ
เมื่อไหร่ที่แบรนด์ควรใช้ Micro-Influencers
- เมื่อแบรนด์กำลังเริ่มต้นหันมาใช้กลยุทธ์ทางการตลาดผ่านอินฟลูเอนเซอร์ เพื่อปิดการขาย การเริ่มจากกลุ่มอินฟลูเอนเซอร์ขนาดเล็กจะทำให้คุณสามารถควบคุมงบประมาณได้เป็นอย่างดี
- เมื่อแบรนด์ต้องการสร้างการรับรู้ไปยังกลุ่มคนที่เฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้น

5. Nano Influencers ตัวแทนผู้บริโภค
จำนวนผู้ติดตาม 1,000 – 10,000 คน
คนกลุ่มนี้จะมีความเป็นตัวแทนของผู้บริโภค ที่มีผู้ติดตามจำนวนหนึ่ง โดยคอนเทนต์ส่วนใหญ่จะนำเสนอ ไลฟ์สไตล์ การใช้ชีวิตประจำวัน เข้าถึงง่าย และมีความสนิทสนม กับผู้ติดตาม
ลักษณะของ Nano Influencers
- นำเสนอไลฟ์สไตล์ผ่านสื่อโซเชียลมีเดียเป็นประจำ
- พูดถึงแบรนด์ที่ตนเองชื่นชอบอยู่เสมอ
- ใกล้ชิดกับผู้ติดตาม มีแนวโน้มสูงมากที่จะตอบทุกคอมเมนต์
- สินค้าหลายชิ้นไม่ได้ผ่านการสปอนเซอร์จากแบรนด์ ทำให้ผู้ติดตามรับรู้ได้ถึงความจริงใจในการรีวิว
เมื่อไหร่ที่แบรนด์ควรใช้ Nano Influencers
- เมื่อแบรนด์มีงบประมาณทางการตลาดที่จำกัด
- เมื่อแบรนด์มุ่งเน้นไปที่การสร้างโอกาสในการขาย
- เมื่อแบรนด์ต้องการเข้าถึงกลุ่มคนที่เลือกใช้สินค้า จากสิ่งที่คิดว่าดีต่อตนเองจริง ๆ
สรุปการเลือกใช้อินฟลูเอนเซอร์
การเลือกใช้อินฟลูเอนเซอร์ให้เหมาะกับแคมเปญที่แบรนด์ต้องการจะสื่อสารไปยังผู้บริโภคนั้น ควรคำนึงจากวัตถุประสงค์ของแคมเปญเป็นหลัก รองลงมาอาจเป็นในเรื่องของงบประมาณที่แบรนด์ต้องการที่จะใช้จ่ายในแคมเปญนั้น ๆ ทั้งนี้การเลือกอินฟลูเอนเซอร์ ควรเลือกคนที่มีลักษณะ (Character) ไปในทิศทางเดียวกันกับแบรนด์ เพื่อให้พวกเขาเหล่านี้ได้เป็นตัวแทน หรือกระบอกเสียงแทนแบรนด์ ในการบอกต่อสินค้าหรือบริการของเราได้มีประสิทธิภาพสูงสุดนั่นเอง
อัปเดตข้อมูลข่าวสารก่อนใคร
หากคุณอ่านบทความ 5 ประเภทของ อินฟลูเอนเซอร์ ที่นักการตลาดควรรู้ ก่อนเลือกนำมาใช้ให้ตอบโจทย์กับแคมเปญ แล้วชื่นชอบ หรือเห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์สามารถติดตามเพื่ออัปเดตข้อมูลข่าวสารด้านการตลาดออนไลน์ก่อนใครได้ที่ Fanpage SPARK Factor หากคุณกำลังมองหาที่ปรึกษาด้านการตลาดออนไลน์ หรือ Partner ที่จะช่วยวางกลยุทธ์ทางการตลาด
SPARK Factor จะพาคุณยกระดับธุรกิจ และเติบโตไปกับเราอย่างมีประสิทธิภาพปรึกษาทำการตลาด
ติดต่อได้เลยทาง Inbox หรือ
Email: support@sparkth.io
Tel: 085-099-2551, 086-531-8748